OUR CLINIC IS

FOR ALL!

STERILIZED

MICROCHIP

VACCINATED

A TMTRD dog is a
happy & healthy dog.

ADOPT

SPONSOR

FOSTER

Whether you are ready for a dog full time, willing to foster, or prefer to sponsor -

TMTRD needs your help

รับเลี้ยงแทนการซื้อนะ

ADOPT DON'T SHOP

08-4354-2334 (TH)

08-1861-1164 (EN)

@tmtrd

The Man That Rescues Dogs

tmtrd.org

WITH YOUR HELP
WE CAN DO BETTER

DONATE NOW

With your help we can do better.

THANKS TO YOU

WITH YOUR HELP
WE CAN DO BETTER


ดูแลใส่ใจสัตว์ในชุมชนมากกว่าผลกำไร

         สัตว์เลี้ยงในชุมชนควรต้องได้รับการทำหมัน ฉีดวัคซีน และการมีสุขภาพที่ดีนั้นสำคัญมากกว่าการหวังผลกำไร นี่เป็นเหตุผลที่คลินิกมูลินิธิ TMTRD ให้ราคาค่ารักษาในราคาที่ถูกและประหยัดกับผู้มาใช้บริการเพียงเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเท่านั้น (ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่เหลือทางมูลนิธิ จะเป็นผู้รับผิดชอบให้กับผู้มาใช้บริการทั้งหมด)
         มูลนิธิมีสัตวแพทย์ชำนาญการประจำอยู่ 3 ท่านด้วยกัน ที่ให้การรักษาที่หลากหลาย อาทิ การทำหมัน การฉีดวัคซีน และการดูแลรักษาฟัน เป็นต้น
         คลินิกให้บริการดูแลสัตว์ในชุมชนของเราในราคาย่อมเยาและการดูแล การใส่ใจอย่างใกล้ชิด
          หากต้องการนัดหมายกรุณาส่งข้อความถึงเราได้ทันที ที่แอพพลิเคชัน Line ID: @tmtrd หรือที่ เพจ TMTRD

บริจาคสนับสนุน

มูลนิธิฯ ดำเนินงานช่วยเหลือสัตว์ยากไร้มาได้อย่างต่อเนื่องเพราะด้วยเงินของผู้บริจาคสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่ช่วยเหลือ รักษา ทำวัคซีน ทำหมัน ทำกายภาพ ปรับพฤติกรรม หาบ้านให้ และต่างๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เพราะความช่วยเหลือที่เราได้รับจากคุณ

เขตกักกันโรค

โซนกักกันโรค เป็นด่านแรกในการรับสุนัขใหม่เพื่อกักกันโรคที่อันตรายและรักษาให้หาย ก่อนนำสุนัขเข้าไปรวมกลุ่มใหญ่ และยังต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก่อน สุนัขใหม่ทุกตัวจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือนในเขตกักกันโรคนี้ เขตกักกันโรคจะอยู่ห่างจากโซนบ้านพักพิง 10 เมตร เพื่อป้องกันการติดโรคร้าย ด้วยเหตุผลนี้เจ้าหน้าที่ของเขตนี้ต้องฆ่าเชื้อก่อนเข้าและออก

ศูนย์ดูแลสุนัขพิเศษ

ศูนย์ดูแลพิเศษ ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 เป็นที่พักพิงของสุนัข แก่,ป่วย,พิการ มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอดเวลา ปัจจุบัน มีสุนัข 60 ตัวในพื้นที่แห่งนี้ โดยงานที่ต้องทำในแต่ละวันจะเป็น นำสุนัขเดินเล่นออกกำลังกายวันละ 2 ครั้ง พาสุนัขว่ายน้ำ และทำกายภาพบำบัด นอกจากนั้นแล้วยังต้องทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้กับสุนัขพิการลากขาทุกวัน ให้ยาและทำให้เขามีความสุข ฝึกให้พวกเขาเข้าสังคม ไว้ใจคน เพื่อนำไปสู่การหาบ้านต่อไป

การทำหมัน

การทำหมันเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่มูลนิธิฯ ได้ทำร่วมกับชุมชน เพื่อหยุดวงจรสุนัขจรจัด ควบคุมประชากรสุนัขที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในทุกๆวัน มูลนิธิฯ จัดทำหมันทุกเดือน ที่วัด สถานพักพิงฯ หรือสถานที่ราชการในพื้นที่บางแสน ทั้งสุนัขและแมวมีเจ้าของ และไม่มีเจ้าของ เป็นการจัดการที่ต้นตอ หยุดวงจรการแพร่ของสัตว์จรจัดได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

คำแนะนำ หรือเทคนิคที่จะช่วยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกับสัตว์เลี้ยงของคุณ

 อาการป่วยทั่วไป

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขของคุณป่วย?

    นี่คือ 10 สัญญาณที่จะบอกได้ว่าสุนัขป่วย

    1. กลิ่นปาก หรือมีน้ำลายไหล
    2. ดื่มน้ำมากหรือปัสสาวะผิดปกติ
    3. ไม่กินข้าว น้ำหนักลด
    4. นอนซม ไม่ร่าเริ่ง
    5. การตอบสนองช้า
    6. นอนมาก ผิดปกติ
    7. ไอ จาม หอม หายใจลำบาก
    8. ผิวหนังแห้ง คัน เป็นก้อน หรือหัวสั่น
    9. กินอาหารยาก
    10. มีจุดสีแดง และตาแห้ง
  • สัตว์เลี้ยงมีเลือดในปัสสาวะ ควรทำอย่างไร?

    นำสัตว์เลี้ยงของคุณไปพบสัตว์แพทย์ มันมีสาเหตุมากมาย อาจจะมาจากนิ่วในไต หรือปัสสาวะอักเสบ แพทย์สามารถตรวจวินิจและรักษาได้อย่างถูกต้อง

  • สัตว์เลี้ยงของฉันอยู่ๆก็เดินไม่ได้ ฉันควรต้องทำอย่างไร

    ให้นำสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  • สุนัขของฉันมีปัญหาในการอึและร้อง ฉันควรทำอย่างไรดี?

    พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์. อาจเป็นเรื่องร้ายแรงหรือเรื่องเล็กน้อยก็เป็นได้

 การทำหมัน

  • เมื่อไรควรนำสุนัขหรือแมวมาทำหมัน

    วิธีที่ดีที่สุดคือถามสัตว์แพทย์,เพื่อประโยชน์ต่อสุภาพที่ดีของสุนัขเพศเมียสามารถทำหมันได้อายุ3-4เดือน วงจรการเป็นสัดอายุประมาณ 6-7เดือนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธ์

  • วิธีการตรียมเมื่อสุนัขจะผ่าตัด

    วิธีการตรียมเมื่อสุนัขจะผ่าตัด

  • วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณหลังจากผ่าตัด

    ถ้าสุนัขเลียให้ใส่คลอร่าในระหว่างการใส่อาจทำให้สุนัขเดินลำบาก แต่สามารถป้องกันการเลียแผลได้ โทรหาสัตว์แพทย์เมือ่คุณพบสิ่งผิดปกติ หรือการเปล่ี่ยนแปลงท่ี่เกิดขี้นจากปกติ แต่ก่อนที่จะกังวลให้เวลาสุนัขได้ฟื้นตัวก่อน. หากคุณกังวลสุนัขที่ได้รับผลกระทบมากให้คุยกับสัตวแพทย์